ประวัติ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ชื่อที่ชาวบ้านเรียก “วัดใหญ่” มีชื่อเดิมว่า “วัดพระประธม” บ้าง มีชื่อว่า “วัดพระบรรทม” บ้าง มีชื่อว่า “วัดพุทธปรมธาตุ” บ้าง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๒๗ ถนน ขวาพระ ตำบล พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
แต่เดิมมา วัดนี้ในสมัยโบราณ มีชื่อว่า “วัดพระประธม” บ้าง มีชื่อว่า “วัดพระบรรทม” บ้าง มีชื่อว่า “วัดพุทธปรมธาตุ” บ้าง ครั้นมาถึงในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในยุคที่ทรงเริ่มการปฏิสังขรณ์องค์พระ ปฐมเจดีย์ครั้งใหญ่ ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๓๙๖ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงพิจารณาลักษณะการก่อสร้าง และสภาพโดยทั่วไปแล้ว ทรงเห็นว่า น่าจะเป็นพระสถูปเจดีย์ที่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งประเทศอินเดียยุคโบราณ ที่ได้มีการส่งพระสมณทูต มี พระโสณะและพระอุตตระเป็นต้น เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของดินแดนสุวรรณภูมิสมัยนั้น ประมาณในระหว่างปีพ.ศ.๒๑๘ - ๓๐๐ และมีการสร้างพระสถูป เจดีย์ไว้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นหลักฐาน รูปทรงพระสถูปเจดีย์ในยุคแรกที่สร้างนั้น ทรงเห็นว่า มี รูปทรงเหมือนเป็นอย่างเดียวกับ พระสถูปารามเจดีย์ ในกรุงอนุราธบุรี ในเกาะสิงหลทวีป หรือประเทศ ศรีลังกาในบัดนี้ ทรงเชื่อมั่นว่า เป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกในพื้นที่แถบนี้ และเป็นวัดแรก ด้วย จึงทรงพระพระราชทานนามพระสถูปเจดีย์แห่งนี้ว่า “พระปฐมเจดีย์” และพระราชทานนามวัดว่า “วัดพระปฐมเจดีย์”
การตั้งวัด
๑. กรณีเป็นวัดที่ตั้งขึ้นก่อนวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๖ ซึ่งเป็นวันที่กฎกระทรวงศึกษาธิการ ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ มีผลบังคับใช้ ได้ตั้งวัดเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๑๘
ที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๑๕๖ ไร่ ๓ งาน ๔๕ ตารางวา โดยมีหนังสือ แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็น โฉนดเลขที่ ๓๕๖๗ และ โฉนดเลขที่ ๑๒๐๒
ิอาณาเขต
ทิศเหนือ จดกับ ถนนซ้ายพระ
ทิศใต้ จดกับ ทางสาธารณประโยชน์ สระหีบ ที่ดินเอกชน
ทิศตะวันออก จดกับ ถนนหน้าพระที่ดินพัสดุ ที่ดินเอกชน
ทิศตะวันตก จัดกับ ทางสาธารณประโยชน์ ถนนราชวิถี ถนนหลังพระ
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา การได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตามข้อสันนิษฐานของนักปราชญ์ทางโบราณคดี และทาง ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ว่ามีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๕ - พ.ศ.๓๐๐ ได้ผูกพัทธสีมา เมื่อ ประมาณปี พ.ศ.๒๓๕ - พ.ศ.๓๐๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๒.๐๕ เมตร ยาว ๒๐.๒๓ เมตร
ที่ธรณีสงฆ์ (ไม่รวมกับที่ดินที่ตั้งวัดข้างต้นนี้) มี ๑๐ แปลง รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น ๒๖๖ ไร่ ๓ งาน ๓๗ ตารางวา คือ
๑. แปลงที่ ๑ ตั้งอยู่ที่ต าบล พระปฐมเจดีย์ อ าเภอ เมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม มีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๒ งาน ๕๐ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ โฉนด ที่ ๗๓๙๙
๒. แปลงที่ ๒ ตั้งอยู่ที่ต าบล ห้วยจรเข้ (ทุ่งหนองคอไห) อ าเภอ เมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม มีเนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๑ งาน -- ตารางวา (มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ โฉนด ที่ ๑๐๔๘
๓. แปลงที่ ๓ ตั้งอยู่ที่ต าบล บ่อพลับ (ที่ไร่วัดกลาง) อ าเภอ เมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม มีเนื้อที่ ๑๗ ไร่ ๑ งาน ๙๗ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ โฉนด ที่ ๖๒๒
๔. แปลงที่ ๔ ตั้งอยู่ที่ต าบล ห้วยจรเข้(ทุ่งบางกะแชง) อ าเภอ เมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม มีเนื้อที่ ๑๘ ไร่ ๓ งาน ๔๐ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ โฉนด ที่ ๔๖๔
๕. แปลงที่ ๕ ตั้งอยู่ที่ต าบล ห้วยจรเข้(รางมะดัน) อ าเภอ เมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม มีเนื้อที่ ๔ ไร่ -- งาน ๙๘ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ โฉนด ที่ ๔๐๕๙๗
๖. แปลงที่ ๖ ตั้งอยู่ที่ต าบล ห้วยจรเข้(หลังวัดพระปฐมเจดีย์) อ าเภอ เมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ -- ไร่ ๓ งาน ๕๗ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ โฉนด ที่ ๑๕๕๕๘
๗. แปลงที่ ๗ ตั้งอยู่ที่ต าบล สามเมือง อ าเภอ ลาดบัวขาว จังหวัด พระนครศรีอยุธยา มีเนื้อ ที่ ๑๐๐ ไร่ -- งาน -- ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ โฉนด ที่ ๙๑๙๓
๘. แปลงที่ ๘ ตั้งอยู่ที่ต าบล สามเมือง อ าเภอ ลาดบัวขาว จังหวัด พระนครศรีอยุธยา มีเนื้อ ที่ ๑๐๐ ไร่ -- งาน -- ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ โฉนด ที่ ๙๑๙๔
๙. แปลงที่ ๙ ตั้งอยู่ที่ต าบล บ่อพลับ อ าเภอ เมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม มีเนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๕๖ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ โฉนด ที่ ๗๑๔๖๘
๑๐. แปลงที่ ๑๐ ตั้งอยู่ที่ต าบล ทุ่งน้อย อ าเภอ เมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๓ งาน ๓๙ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ โฉนด ที่ ๑๒๓๗๖
ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบ
พื้นที่ตั้งวัด มีลักษณะเป็นที่ราบต่ า มีน้ าท่วมเป็นบางคราวเมื่อฝนตกหนัก บัดนี้ได้ถมพื้นที่และ ท าทางระบายน้ า แต่ยังมีน้ าท่วมอยู่ในพื้นที่เขตสังฆาวาสเมื่อฝนตกหนัก และโดยเฉพาะในเขตสังฆาวาส เป็นที่ตั้งของศาลาการเปรียญ ฌาปนสถาน กุฏิสงฆ์ โรงเรียนประถมศึกษาวัดพระปฐมเจดีย์ ส าหรับ พื้นที่สนามหน้าโรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ ซึ่งแต่เดิมเป็นสนามดินมีหญ้าขึ้นบ้างเป็นบางแห่ง มีน้ าท่วมขัง บ่อยครั้ง แต่บัดนี้ ได้มีการท าเป็นพื้นปูนเทคอนกรีตแล้ว เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๙ ระหว่างเขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีถนนขวาพระคั่นกลาง ทั้งเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาส มีก าแพงล้อมรอบ แสดง ขอบเขตที่ชัดเจน ในเขตพุทธาวาส เป็นที่ตั้งของพระอุโบสถและองค์พระปฐมเจดีย์ มีสระน้ าสองสระ และที่มุมก าแพงชั้นนอก ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างก าแพงคร่อมคลองเจดีย์บูชา จากสะพาน เจดีย์บูชา ถึงสะพานทวารวดี เป็นระยะทาง ๑๖ เมตร ส าหรับพื้นที่สนามหญ้าทางด้านทิศตะวันตก ฝั่ง ใต้ บัดนี้ได้มีการท าเป็นพื้นปูนเทคอนกรีต และวางท่อระบายน้ า เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ เพื่อจัดไว้เป็น บริเวณที่ตั้งร้านค้าชั่วคราว ภาคกลางคืน ซึ่งย้ายมาจากบริเวณด้านทิศเหนือ
อาคารเสนาสนะต่าง ๆ (หากมีจิตรกรรมฝาผนัง ให้ระบุไว้ด้วย) มี
- พระอุโบสถ กว้าง ๑๒.๐๕ เมตร ยาว ๒๐.๒๓ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ เป็น อาคารชั้นเดียว โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ
- พระวิหารหลวง (ทิศตะวันออก) กว้าง ๑๐.๐๐ เมตร ยาว ๒๗.๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ เป็นอาคารชั้นเดียวว โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง เคลือบ ภายในพระวิหาร มีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นภาพแสดงความ เปลี่ยนแปลงของรูปทรงองค์พระปฐมเจดีย์ในแต่ละยุคสมัย ภาพเทพชุมนุมนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ และภาพต้นพระศรีมหาโพธิ์
- พระวิหารพระปัญจวัคคีย์ (ทิศใต้) กว้าง ๐๘.๐๐ เมตร ยาว ๒๑.๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ เป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างก่ออิฐเสริมไม้ ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ พระวิหารพระนอน (ทิศตะวันตก) กว้าง ๐๘.๐๐ เมตร ยาว ๒๑.๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ เป็นอาคารชั้นเดียวลักษณะตรีมุข โครงสร้างก่ออิฐเสริมไม้บางส่วนก็เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กผนัง ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ
- พระวิหารพระร่วงฯ (ทิศเหนือ) กว้าง ๐๘.๐๐ เมตร ยาว ๒๑.๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ เป็นอาคารชั้นเดียวลักษณะตรีมุข โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ
- พระวิหารโรงธรรม หรือ ศาลาโรงธรรม กว้าง ๑๔.๖๗ เมตร ยาว ๒๐.๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๕ เป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างก่ออิฐเสริมไม้ ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ของวัด “พระปฐมเจดีย์พิพิธภัณฑสถาน”
- พลับพลาเปลื้องเครื่อง กว้าง ๐๖.๐๐ เมตร ยาว ๐๖.๐๐ เมตร ยกพื้นสูง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ เป็นอาคารไม้ ช่อฟ้าประดับด้วยกระจกลงรักปิดทอง มีรูปแบบศิลปะลายไทยแบบใน พระบรมมหาราชวัง
- ศาลาต้อนรับอาคันตุกะ กว้าง ๐๖.๐๐ เมตร ยาว ๑๐.๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นอาคารชั้นเดียว เปิดโถง โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ
- ศาลาที่ท าการส านักงานจัดประโยชน์ฯ กว้าง ๐๖.๐๐ เมตร ยาว ๑๐.๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ
- ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๐.๐๐ เมตร ยาว ๒๕.๘๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ เป็น อาคารสามชั้น (รวมชั้นใต้ดินด้วย) โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุง กระเบื้องเคลือบ บริเวณพื้นที่เป็นชานเดินโดยรอบ ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ประดับด้วยหินอ่อน
- กุฏิสงฆ์ (กุฏิเจ้าอาวาส) ขนาด ๓ ชั้น กว้าง ๑๗.๓๐ เมตร ยาว ๒๐.๐๐ เมตร จ านวน ๑ หลัง เป็นอาคารไม้ แต่ชั้นล่างเป็นตึกผนังก่ออิฐถือปูน
- กุฏิสงฆ์ (กุฏิเจ้าอาวาส) ขนาด ๒ ชั้น กว้าง ๑๓.๒๐ เมตร ยาว ๑๖.๓๐ เมตร จ านวน ๑ หลัง เป็นอาคารตึก ชั้นล่างใช้เป็นห้องประชุมของวัด
- กุฏิสงฆ์ (ตึกธรรมศรัทธาสหชน) ขนาด ๒ ชั้น กว้าง ๑๖.๐๐ เมตร ยาว ๑๗.๕๐ เมตร จ านวน ๑ หลัง เป็นอาคารตึก ชั้นบนเป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ ชั้นล่างใช้เป็นสถานที่ตั้งห้องสมุดของวัด
- กุฏิสงฆ์ (หอปริยัติ) ขนาด ๒ ชั้น กว้าง ๐๘.๐๘ เมตร ยาว ๑๓.๑๑ เมตร จ านวน ๒ หลัง เป็นอาคารตึก
- กุฏิสงฆ์ ขนาด ๒ ชั้น กว้าง ๐๖.๐๐ เมตร ยาว ๒๘.๐๐ เมตร จ านวน ๑๐ หลัง เป็นอาคาร ตึก ๘ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ หลัง
- ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง ๑๒.๔๐ เมตร ยาว ๑๘.๔๐ เมตร จ านวน ๒ หลัง เป็นอาคาร ชั้นเดียว โครงสร้างเป็นคอนกรีตเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ใช้เป็นที่ตั้งส านักงานพุทธสมาคมจังหวัด นครปฐม ๑ หลัง และใช้เป็นสถานที่ตั้งส านักงานศูนย์พระปริยัตินิเทศก์จังหวัดนครปฐม ๑ หลัง
- ฌาปนสถาน จ านวน ๑ หลัง โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาประดับด้วย กระเบื้องเคลือบ ประกอบด้วยเตาเผาศพแบบทันสมัย ปลอดควันปลอดกลิ่น มีปล่องระบายความร้อน
- ศาลาบำเพ็ญกุศล ๑ (ศาลาบุษบก) กว้าง ๑๒.๐๐ เมตร ยาว ๒๔.๐๐ เมตร เป็นอาคารชั้น เดียว โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องซีแพคโมเนีย
- ศาลาบำเพ็ญกุศล ๒ (ศาลา ๑๐๐ ปีฉุน-บุบผา ไผทฉันท์) กว้าง ๑๙.๐๐ เมตร ยาว ๔๒.๐๐ เมตร เป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องซีแพคโมเนีย ศาลาบำเพ็ญกุศล ๓ (ศาลาปัญจมิตร) กว้าง ๑๙.๐๐ เมตร ยาว ๓๐.๐๐ เมตร เป็นอาคาร ชั้นเดียว โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องซีแพคโมเนีย ศาลาบำเพ็ญกุศล ๔ (ศาลาพระร่วงฯ ๘๔ ปี) กว้าง ๑๙.๐๐ เมตร ยาว ๓๙.๐๐ เมตร เป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องซีแพคโมเนีย ศาลาบำเพ็ญกุศล ๕ (ศาลาไผทฉันท์) กว้าง ๐๗.๐๐ เมตร ยาว ๓๐.๐๐ เมตร เป็นอาคาร ชั้นเดียว โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงแผ่นโลหะสแตนเลส นอกจากนี้ ยังมีอาคารเสนาสนะต่างๆ ดังนี้ กุฏิพระวิปัสสนา จ านวน ๙ หลังๆ ละ ๑ รูป กุฏิพระดูแลอุโบสถ จ านวน ๒ หลัง ปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุ (โดยกล่าวอย่างละเอียด ถึงลักษณะขนาดและปีพ.ศ.ที่สร้าง ของปูชนียวัตถุ หรือ โบราณวัตถุ เช่น พระประธาน พระพุทธรูปต่างๆ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เจดีย์ ปรางค์ และของมีค่าอื่นๆ อันเป็นสมบัติของวัด) มีดังนี้ คือ.- องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งแต่ครั้งสมัยที่ พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งประเทศอินเดียโบราณ ทรงส่งสมณทูตมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคแถบนี้ อันมี พระโสณะ และพระอุตตระ เป็นผู้น า มีลักษณะแบบทรงไทย รูประฆังคว่ า ปากผายมหึมา โครงสร้างเป็นไม้(ไม้ ซุง) รัดด้วยโซ่มหึมา ก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยแผ่นกระเบื้องเคลือบสีส้ม สูง ๑๒๐ เมตร กับ ๔๕ เซนติเมตร ประกอบด้วยวิหาร ๔ ทิศ มีคตพระระเบียงชักแนวถึงกันโดยรอบเป็นวงกลม มีกะเปาะ กันทรุดทั้ง ๔ ทิศ มีก าแพงแก้ว ๒ ชั้นล้อมรอบพื้นที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงเริ่มการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ.๒๓๙๖ พระเจดีย์องค์เดิม สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในราว พ.ศ.๒๓๕ - ๓๐๐ มีลักษณะเป็นแบบสัญจิ เจดีย์ (ทรงบาตรคว่ า) ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๕๖๙ พระยาพาน ผู้ครองเมืองในสมัยนั้น ต้องการล้างบาปที่ กระท าปิตุฆาตกรรมไว้ จึงต่อเติมองค์พระพุทธเจดีย์ให้สูงขึ้นอีกเท่านกเขาเหิร คือ ประมาณ ๔๐๐ ฟุต มีขนาดกลมโดยรอบ ๘๐๐ ฟุต ส่วนทรงของพระสถูปเจดีย์ได้แปลงจากของเดิม กลายเป็นรูปทรงบาตร คว่ ายอดปรางค์ ครั้นกาลต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังผนวชอยู่ ได้เสด็จมา นมัสการ ทรงพระด าริว่า เป็นพระเจดีย์ใหญ่โต และเก่าแก่กว่าพระเจดีย์องค์อื่นๆ ที่มีในประเทศไทย สมควรบูรณะปฏิสังขรณ์ให้คืนดีดังเดิม เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว จึงโปรดให้ด าเนินการปฏิสังขรณ์ขึ้น ส่วนพระเจดีย์องค์เดิมมีขนาดและลักษณะเป็นอย่างไร ก็โปรดให้คงไว้ โดยสร้างพระมหาเจดีย์สถูปใหญ่ หุ้มองค์เดิมไว้ภายใน เริ่มการก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ.๒๓๙๖ สมัยรัชกาลที่ ๔ แต่ยังไม่ทันได้ยกยอด ด้วย เสด็จสวรรคตเสียก่อนใน พ.ศ.๒๔๑๑ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จึง ได้เสด็จพระราชด าเนินมายกยอดพระมหา มงกุฏองค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๓ แล้วทรง ปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีกมากมาย องค์พระปฐมเจดีย์รูปปัจจุบัน จึงปรากฏเป็นรูประฆังคว่ ายอดแหลม โดย สร้างครอบพระเจดีย์รูปทรงบาตรคว่ ายอดปรางค์ของเดิมไว้ภายใน พระพุทธสิหิงค์ (จ าลอง) เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะ หน้าตักกว้าง ๑.๒๐ เมตร สูง ๑.๖๒ เมตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้หล่อจ าลองจากพระพุทธสิหิงค์ ซึ่ง ประดิษฐานอยู่ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ในพระบวรราชวัง แต่ขยายให้ใหญ่กว่าองค์เดิม แล้วโปรดให้ อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ซุ้มจระน า ณ องค์พระปฐมเจดีย์ ด้านทิศตะวันออก พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปศิลาขาวแกะสลักขนาดใหญ่ ปางประทานปฐม เทศนา ประทับนั่งห้อยพระบาททั้งสองลงบนฐานที่ท าเป็นกลีบบัวบานรองรับ สร้างในสมัยทวารวดี (พ.ศ.๑,๐๐๐ - ๑,๖๐๐) เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเมรุ (ร้าง) ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้เป็นพระ ประธานในพระอุโบสถ เมื่อปีพ.ศ.๒๔๐๔ พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ เป็นพระพุทธรูปยืน ปางห้ามญาติ หล่อด้วยโลหะ สูง ๗.๕๐ เมตร เดิม เป็นพระพุทธรูปช ารุด จมอยู่ในพื้นวิหารวัดโบราณ ในเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เหลืออยู่แต่ พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรด ให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพฯ แล้วโปรดให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นให้บริบูรณ์เต็มพระองค์ ตั้งการพระราชพิธีหล่อ ที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ เสร็จแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในซุ้มพระวิหาร ทิศเหนือ ตรงบันไดใหญ่ ที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วได้มีพระบรมราชโองการโปรดให้ถวายพระนามพระ พุทธปฏิมากรนี้ว่า “พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร” ที่ฐานชุกชีพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ บรรจุพระบรมสรีรางคารของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จพระราชด าเนินมาท าบุญสมโภชองค์ พระปฐมเจดีย์ เมื่อวันที่ ๓๑ เดือน สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๙ พร้อมกับบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ไว้ที่ฐานชุกชีพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ ตามพระราชพินัยกรรมที่พระองค์ได้สั่งไว้ ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต พระพุทธนรเชษฐ์ฯ เป็นพระพุทธรูปศิลาขาวแกะสลักขนาดใหญ่ ปางประทานปฐมเทศนา ประทับนั่งห้อยพระบาททั้งสองลงบนฐานที่ท าเป็นกลีบบัวบานรองรับ สร้างในสมัยทวารวดี(พ.ศ.๑,๑๐๐ - ๑,๖๐๐) เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเมรุ (ร้าง) ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ แต่ต่อมาไม่ทราบว่า ในยุคสมัยใด ได้มีผู้แบ่งแยกองค์พระพุทธรูป เคลื่อนย้ายออกไปยังที่ต่างๆ หลายแห่ง และมีบางส่วน ของพระพุทธรูป เช่น ส่วนพระชงฆ์ ส่วนองค์พระ เก็บรักษาอยู่ที่คตระเบียงองค์พระปฐมเจดีย์ ครั้น ถึงปีพ.ศ.๒๕๑๐ ทางกรมศิลปากร ได้รวบรวมชิ้นส่วนพระพุทธรูปดังกล่าวนี้ไว้ได้เป็นหลายชิ้น รวมทั้ง ชิ้นส่วนที่เก็บรักษาอยู่ที่องค์พระปฐมเจดีย์ ประกอบกันเป็นองค์พระพุทธรูปขึ้นได้จ านวน ๓ องค์ วัด พระปฐมเจดีย์ จึงได้ร่วมกับกรมศิลปากร อัญเชิญพระพุทธรูปศิลาขาวที่ประกอบเป็นองค์พระพุทธรูป บริบูรณ์แล้วนี้ ๑ องค์ ขึ้นประดิษฐานไว้ที่ลานชั้นลด ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ แล้วกรม ศิลปากรได้ถวายพระนามว่า “พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดี ปูชนียบพิตร” พระพุทธนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชศรัทธา โปรดให้สร้างขึ้น ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารด้านทิศตะวันออก หรือพระวิหารหลวง พระปางโปรดปัญจวัคคีย์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น นั่งขัดสมาธิ หน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร ปาง ประทานปฐมเทศนา มีพระสาวก ๕ รูป นั่งล้อมอยู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาล ที่ ๔ ทรงมีพระราชศรัทธา โปรดให้สร้างขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารด้านทิศใต้ หรือ พระวิหารปัญจวัคคีย์ พระปางนาคปรก เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น นั่งขัดสมาธิ ประทับนั่งบนขนดพญานาค ๗ เศียร หน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชศรัทธา โปรดให้สร้างขึ้นประดิษฐานอยู่ในพระวิหารปัญจวัคคีย์ พระพุทธไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ ยาว ๑๗.๐๐ เมตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชศรัทธา โปรดให้สร้างขึ้น ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารด้านทิศตะวันตก หรือพระวิหารพระนอน พระพุทธปรินิพพาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน ยาว ๐๓.๐๐ เมตร และมีพระสาวก ๓ รูป นั่งล้อมอยู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระ ราชศรัทธา โปรดให้สร้างขึ้นประดิษฐานไว้ในพระวิหารพระนอน พระปางประสูติ เป็นพระปฏิมาปางพระกุมารประทับยืนบนดอกบัว หล่อด้วยโลหะ สูง ๘๐ เซนติเมตร และมีปฏิมาสตรีสองคนคอยดูแลรับใช้ เป็นพระปฏิมาเก่าแก่ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ทิศเหนือ หรือพระวิหารพระร่วงฯ พระปางป่าเลไลยก์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ประทับนั่งห้อยพระบาท สูง ๐๓.๐๐ เมตร มี ปฏิมาช้าง และปฏิมาลิง ตั้งอยู่เบื้องหน้า ในลักษณะถวายการรับใช้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชศรัทธา โปรดให้สร้างขึ้นประดิษฐานไว้ในพระวิหารพระร่วงฯ พระพุทธมหาวชิรมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะ ปางประทับนั่งขัดสมาธิเพชร หน้าตัก กว้าง ๐.๗๙ เมตร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ในระหว่างที่ยังทรงผนวชเป็น พระภิกษุ ได้เสด็จพระราชด าเนินมาถวายสักการะพระปฐมเจดีย์ และได้ทรงเททองหล่อพระพุทธรูปองค์ นี้ไว้ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ ทางวัดพระปฐมเจดีย์ได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ แท่นที่ บูชา ที่ชานมุขหน้าพระวิหารหลวง องค์พระปฐมเจดีย์ และต่อมา ในปีพ.ศ.๒๕๒๗ ได้รับพระราชทาน นามพระพุทธรูปนี้ว่า “พระพุทธมหาวชิรมารวิชัย” พ.ศ.๒๕๔๐ พระธรรมปริยัติเวที ขณะนั้นยังเป็น พระราชสุธรรมเมธี เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ได้จัดสร้างแท่นรัตนบัลลังก์ พร้อมด้วยฉัตรเบญจา ประดิษฐานไว้ ณ มุขหน้าแห่งพระวิหารหลวง องค์พระปฐมเจดีย์ ลุถึงปีพ.ศ.๒๕๔๔ วันที่ ๑๘ ธันวาคม สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์สมเด็จฯ พระบรมราชินีนาถ ในการบรรจุพระที่องค์พระปฐมเจดีย์ ได้ทรงเจิม ทรงพระสุหร่าย และทรงสาย สูตรยกฉัตรขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา ความรู้เกี่ยวกับองค์พระปฐมเจดีย์ 1. สูงจากพื้นดิน ถึงยอดพระมหามงกุฏ 120.45 เมตร 2. ฐานบัลลังก์สี่เหลี่ยม ยาวด้านละ 18.80 เมตร 3. ตัวองค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเป็นรูปคล้ายระฆัง ปากระฆังวัดผ่านศูนย์กลาง 56.64 เมตร 4. ปล้องไฉนมี 27 ปล้อง 5. ส่วนปล้องไฉนจากสี่เหลี่ยม ถึงยอด 41.50 เมตร 6. จากปากระฆัง ถึงสี่เหลี่ยม 28.10 เมตร 7. ฐานโดยรอบวัดได้ 235.50 เมตร 8. ลานประทักษิณองค์พระปฐมเจดีย์ ชั้นในตามแนวเสาราชวัฏ โดยรอบ ยาว 283 เมตร 9. ลานประทักษิณองค์พระปฐมเจดีย์ ชั้นนอกโดยรอบตามแนวซุ้มระฆัง ยาว 498.47 เมตร 10.พระวิหารพระร่วงฯ ทิศเหนือ กว้าง 08.20 เมตร ยาว 24.70 เมตร 11.พระวิหารหลวง ทิศตะวันออก กว้าง 09.88 เมตร ยาว 23.00 เมตร 12.พระวิหารปัญจวัคคีย์ทิศใต้ กว้าง 08.26 เมตร ยาว 22.90 เมตร 13.พระวิหารพระนอน ทิศตะวันตก กว้าง 12.80 เมตร ยาว 22.00 เมตร 14.ซุ้มระฆังบนลานองค์พระปฐมเจดีย์ มีขนาด 1.50 X 1.50 เมตร มีทั้งหมด 24 ซุ้ม 15.พระวิหารคตระเบียง - ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กว้าง 08.00 เมตร ยาว 88.00 เมตร มี 30 ห้อง - ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ กว้าง 08.00 เมตร ยาว 91.20 เมตร มี 30 ห้อง - ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ กว้าง 08.00 เมตร ยาว 85.00 เมตร มี 30 ห้อง - ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ กว้าง 08.00 เมตร ยาว 83.00 เมตร มี 30 ห้อง 16.บันไดนาค ด้านหน้าพระวิหารทิศเหนือ มีทั้งหมด 49 ขั้น ดังนี้ จากพื้นชั้นล่างขึ้นไป ชั้นที่ 1 มี 14 ขั้น (ขั้นที่ 14 มีลานพัก) ชั้นที่ 2 มี 12 ขั้น (ขั้นที่ 12 มีลานพัก) ชั้นที่ 3 มี 9 ขั้น (ขั้นที่ 9 มีลานพัก) ชั้นที่ 4 มี 9 ขั้น (ขั้นที่ 9 มีลานพัก) ชั้นที่ 5 มี 5 ขั้น (แล้วขึ้นสู่พื้นลานพระวิหารทิศเหนือ) 17.ก าแพงแก้วรอบองค์พระปฐมเจดีย์ ชั้นใน รวมกันทั้ง 4 ทิศ ยาว 964.80 เมตร คือ - ทิศเหนือ (รวมช่องประตู) ยาว 246.90 เมตร - ทิศตะวันออก (รวมช่องประตู) ยาว 226.40 เมตร - ทิศใต้ (รวมช่องประตู) ยาว 254.30 เมตร - ทิศตะวันตก (รวมช่องประตู) ยาว 237.20 เมตร 18.ก าแพงแก้วรอบองค์พระปฐมเจดีย์ ชั้นนอก รวมกันทั้ง 4 ทิศ ยาว 1,764.75 เมตร - ทิศเหนือ (รวมช่องประตู) ยาว 444.00 เมตร - ทิศตะวันออก (รวมช่องประตู) ยาว 432.30 เมตร - ทิศใต้ (รวมช่องประตู) ยาว 430.95 เมตร - ทิศตะวันตก (รวมช่องประตู) ยาว 456.50 เมตร 19.องค์พระปฐมเจดีย์จ าลอง ด้านทิศใต้ สูง 23.23 เมตร ( 9 วา 2 ศอก 2 นิ้ว) 20.พระเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราชจ าลองด้านทิศใต้สูง 27.7๙ เมตร (11 วา 1 ศอก 1 คืบ 1 นิ้วกึ่ง) 21.พระพุทธสิหิงค์จ าลอง สูง 1.62 เมตร หน้าตักกว้าง 1.20 เมตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้น แล้วให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้เป็นพระประธาน พระปฐมเจดีย์ ที่ซุ้มจระน าด้านทิศตะวันออก 22.พระพุทธรูปศิลาขาว ในพระอุโบสถ สูง 03.55 เมตร หน้าตักกว้าง 01.12 เมตร พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญจากวัดพระเมรุ (วัดร้าง) ด้านทิศใต้ ขององค์พระฯ มาประดิษฐานไว้ เมื่อปีพ.ศ.2404 23.พระพุทธไสยาสน์ ในพระวิหารทิศตะวันตก ยาว 17.00 เมตร (8 วา 2 ศอก) พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น 24.พระพุทธนิพพาน ในพระวิหารทิศตะวันตกมุขหลัง ยาว 4 วา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น 25.พระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ ในพระวิหารทิศหนือ สูง 7.42 เมตร (12 ศอก 4 นิ้ว) พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น และให้อัญเชิญมา ประดิษฐานไว้ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2458 26.พระพุทธรูปศิลาขาว (พระพุทธนรเชษฐ์ฯ) ที่ลานชั้นลดทิศใต้ สูง 3.55 เมตร หน้าตักกว้าง 1.12 เมตร กรมศิลปากร ร่วมกับวัดพระปฐมเจดีย์ อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2510 27.พระพุทธมหาวชิรมารวิชัย ที่ชานมุขหน้าพระวิหารทิศตะวันออก สูง 0.92 เมตร หน้าตักกว้าง 0.79 เมตร พระภิกษุ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ขณะยังทรงผนวชอยู่ เสด็จทรงเททองหล่อไว้ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2521 ได้รับพระราชทานนาม เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2527 28.พระพุทธรัชมงคลอุบลบพิตร เป็นพระพุทธรูปประจ าพระชนมวาร หล่อด้วยโลหะปิดทอง ศิลปแบบ สมัยอู่ทอง ปางสมาธิ มีขนาดฐานกว้างประมาณ 9 นิ้ว สูง 16 นิ้ว ทูลกระหม่อมหญิง อุบลรัต นราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จฯ ทรงถวายแก่วัดพระปฐมเจดีย์ณ พระวิหารหลวง องค์พระ ปฐมเจดีย์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2547 โดยมี พระเทพปริยัติมุนี(สุเทพ) เจ้าอาวาส วัดพระ ปฐมเจดีย์เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการรับถวายในฝ่ายบ้านเมือง มีนายนาวิน ขันธหิรัญ ผู้ว่าราชการ จังหวัดนครปฐม พร้อมด้วยส่วนราชการมาเฝ้ารับเสด็จฯ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ใน พิพิธภัณฑ์ของวัด 29.แผ่นกระเบื้องดินเผาของโบราณ จารึกคาถา เย ธัมมาฯ (อักษรครันถ์) อยู่ในพระวิหารเก๋งจีน 30. ช่วงระยะเชือกสลิงที่ส่งระฆัง จากมุมทิศะวันออก ขึ้นชั้นสี่เหลี่ยม ยาว 50.00 เมตร หน่วยงานที่ตั้งอยู่ภายในวัด ๑. โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ได้ตั้งขึ้นและเปิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ ๒. โรงเรียนสหศึกษาบาลี(พระปริยัติธรรม แผนกบาลี) องค์พระปฐมเจดีย์ ได้ตั้งขึ้นและเปิดเรียน เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๙๔ ได้รับการยกย่องจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นส านักเรียนตัวอย่างและดีเด่น ตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๖ ๓. ส านักวิปัสสนากรรมฐานวัดพระปฐมเจดีย์ ตั้งอยู่ในบริเวณคตปีกกาองค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ได้ก่อตั้งขึ้น และเปิดด าเนินการ ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ ปัจจุบันได้รับอนุมัติให้เป็น ส านักปฏิบัติธรรม ประจ าจังหวัดนครปฐม แห่งที่ ๘ โดยอนุมัติของมหาเถรสมาคม ในการประชุมครั้งที่ ๑๖/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๔ ตามประกาศมหาเถรสมาคม ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๔ ๔. ส านักงานจัดประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์ ได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ.๒๔๔๕ ๕. พิพิธภัณฑ์วัด ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๔๔๕ เดิมตั้งอยู่ในพระระเบียง วิหารคด และชานพระระเบียงรอบองค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมาได้ตั้งที่ท าการ ถาวรขึ้นภายในพระวิหารโรงธรรม ที่ตั้งอยู่คู่กับพระอุโบสถหลังปัจจุบัน และย้ายตู้เก็บโบราณ วัตถุ ต่าง ๆ เข้าไปเก็บรักษาไว้ ตั้งแต่เมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๔๘๕ และตั้งอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ๖. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๐ และท าพิธีเปิดป้ายอาคาร เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๔ ๗. พุทธสมาคมจังหวัดนครปฐม ได้รับอนุญาตจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๔๙๗ โดย ขุนค านวณวิจิตร (เชย บุญนาค) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมในสมัยนั้น เป็นผู้ริเริ่ม และ เป็น นายกพุทธสมาคมจังหวัดนครปฐม คนแรก ๘. โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์(มหินทรศึกษาคาร) เดิมได้ตั้งเป็นโรงเรียนส าหรับปวงชน เปิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๙ เป็นโรงเรียนแห่งแรกของจังหวัด นครปฐม และต่อมาได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาในระบบราชการ เปิดเมื่อปีพ.ศ.๒๔๖๕ ๙. ศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดพระปฐมเจดีย์ ตั้งอยู่ในโรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ ก่อตั้งโดย พระราชสุธรรมเมธี(สุเทพ ผุสฺสธมฺโม) เจ้าอาวาส วัด พระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร รูปปัจจุบันเป็น “พระพรหมเวที” เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับแจ้งการจดทะเบียนจากกรมการศาสนา เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๐ ปรากฏหมายเลขทะเบียนที่ ๑๒๖๓ ๑๐.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปฐมทอง (วัดพระปฐมเจดีย์) ตั้งอยู่ในที่ธรณีสงฆ์ของวัด ในท้องที่ต าบลห้วยจรเข้ อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๙ ๑๑.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดพระปฐมเจดีย์ ตั้งอยู่ในโรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ ถนนขวาพระ ก่อตั้งโดย พระราชสุธรรมเมธี(สุเทพ ผุสฺสธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๒ ๑๒.ชมรมแพทย์แผนไทยวัดพระปฐมเจดีย์ เปิดป้ายที่ท าการ ณ ศาลาสัจจธรรม องค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๒ โดย พระพรหมเวที (สุเทพ) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ๑๓.ชมรมเปรียญธรรมจังหวัดนครปฐม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๑ เปิดป้ายที่ท าการ ณ ศาลาสัจจธรรม องค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๒ โดย พระราชสุธรรมเมธี(สุเทพ) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ และมีนายทรงวุฒิ วราตินันท์ เปรียญ เป็นประธานชมรม เปรียญธรรมจังหวัดนครปฐม คนแรก ๑๔.ศูนย์แพทย์ชุมชน องค์พระปฐมเจดีย์(หน่วยงานราชการ) ตั้งอยู่ที่ศาลาริมสระน้ า บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อตั้งและท าพิธีเปิด ป้ายที่ท าการเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ โดย พระเทพปริยัติมุนี(สุเทพ) เจ้าอาวาส วัดพระปฐม เจดีย์ เป็นประธานสงฆ์และผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม (นายมานิต ศิลปอาชา) เป็นประธานในพิธี ๑๕.ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์จังหวัดนครปฐม จัดตั้งตามระเบียบกรมการศาสนา ว่าด้วยการจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๕๓๑ ตั้งอยู่ ณ ศาลากตัญญูธรรม เขตพุทธาวาส วัดพระปฐมเจดีย์ ประกอบพิธีเปิดศูนย์ฯ เมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. โดยมี ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เป็นผู้กล่าวค า อาราธนาคณะสงฆ์จังหวัดฯ ประกอบพิธีเปิดศูนย์ฯ พระราชคุณาภรณ์ เจ้าคณะ จังหวัดนครปฐม กล่าวถวายรายงาน พระธรรมมหาวีรานุวัตร รองเจ้าคณะภาค ๑๔ เป็นประธาน ประกอบพิธีเปิด ศูนย์ฯ การศึกษา ได้มีการเปิดสอน ๑. โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ ๒. โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔ ๓. ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ ๔. ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด (หมู่บ้านปฐมทอง) แห่งที่ ๑ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ ๕. ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด (วัดพระปฐมเจดีย์) แห่งที่ ๒ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๒ ๖. โรงเรียน (ประถมศึกษา) วัดพระปฐมเจดีย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๙ ๗. โรงเรียน(ประถมศึกษา) เทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ ๘. ชมรมแพทย์แผนไทยวัดพระปฐมเจดีย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๒ ๙. ห้องสมุดวัดพระปฐมเจดีย์ เปิดท าการเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ มีพระภิกษุ จ าพรรษาประมาณปีละ ๑๕๐ - ๒๐๐ รูป สามเณร ๒๐ - ๓๐ รูป รายนามเจ้าอาวาส ตั้งแต่รูปแรกจนถึงปัจจุบัน จ านวน ๙ รูป วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาแต่ครั้งสมัยที่ กษัตริย์ศรีธรรมาโศกราช แห่งประเทศ อินเดียโบราณ ทรงส่งสมณทูตมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา และแจกพระบรมสารีริกธาตุไปในประเทศทั้ง ปวงที่นับถือพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ที่เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในครั้งนั้น มีพระโสณะ และ พระอุตตระ เป็นผู้น า และวัดพระปฐมเจดีย์ ก็เป็นวัดแรกที่สร้างขึ้นในภูมิภาคแถบนี้ จึง สันนิษฐานว่า พระมหาเถระผู้เป็นเจ้าอาวาส ที่อยู่ครองวัดพระปฐมเจดีย์ เมื่อแรกเริ่มนั้น ก็คงจะเป็น พระอรหันต์ คือ พระโสณเถระ และ พระอุตตรเถระ ตามล าดับ ต่อจากนั้นมา จะมีเจ้าอาวาสอยู่ ครองมาแล้วกี่รูป ยังไม่อาจจะสืบทราบได้ ทราบแต่เมื่อพระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ ทรงเริ่มการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ครั้งใหญ่ ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๓๙๖ เป็นต้นมา มีเจ้า อาวาสอยู่ครองวัดพระปฐมเจดีย์มาจนถึงกระทั่งบัดนี้ ปรากฏรายนามดังนี้ คือ.- รูปที่ ๑. เจ้าอธิการแป้น ประมาณก่อน พ.ศ.๒๓๙๖ ถึง พ.ศ.๒๔๐๘ รูปที่ ๒. พระสนิทสมณคุณ (แก้ว) พ.ศ.๒๔๐๔ ถึง พ.ศ.๒๔๑๑ รูปที่ ๓. พระปฐมเจติยานุรักษ์(กล่ า) พ.ศ.๒๔๑๑ ถึง พ.ศ.๒๔๔๗ (ว่าง ๔ ปี) รูปที่ ๔. พระราชโมลี(ช้อน เปรียญ ๖) พ.ศ.๒๔๕๒ ถึง พ.ศ.๒๔๕๕ รูปที่ ๕. พระพุทธรักขิต (พลอย เปรียญเทียบ ๔ ) พ.ศ.๒๔๕๕ ถึง พ.ศ.๒๔๖๒ (ว่าง ๒ ปี) รูปที่ ๖. พระธรรมวโรดม (โชติ เปรียญ ๘ ) พ.ศ.๒๔๖๕ ถึง พ.ศ.๒๔๙๗ รูปที่ ๗. พระธรรมสิริชัย (ชิต ป.ธ.๕ ) พ.ศ.๒๔๙๗ ถึง พ.ศ.๒๕๒๗ รูปที่ ๘. พระราชสิริชัยมุนี(โชติ์ ป.ธ.๗ ) พ.ศ.๒๕๒๘ ถึง พ.ศ.๒๕๓๕ รูปที่ ๙. พระพรหมเวที (สุเทพ ป.ธ.๙ ) พ.ศ.๒๕๓๕ ถึงปัจจุบัน การเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีส านักปฏิบัติธรรมประจ าจังหวัด (สธจ.) แห่งที่ ๘ แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ตามประกาศ มติมหาเถรสมาคม ที่ ๑๖/๒๕๔๔ ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มีสถานที่ปฏิบัติธรรมภายในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์๒ แห่ง คือ ๑. สถานที่ “ส านักวิปัสสนากรรมฐาน” (ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้องค์พระปฐมเจดีย์) สร้างขึ้นเมื่อ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗ มีพระภิกษุสงฆ์อยู่ประจ าน าปฏิบัติธรรม มีเจ้าหน้าที่พนักงานคนงานขององค์พระปฐมเจดีย์คอยดูแลรักษา ความสะอาดทั้งบริเวณสถานที่โดยรอบ และมีห้องน้ าจ านวน ๒๐ ห้อง มีต้นไม้ไม้ดอก ไม้ประดับ เป็นสถานที่ร่มรื่น มีก าแพงแก้วล้อมรอบ มีป้ายแสดงบอกชื่อส านัก มีถนนและทางเท้าเดินได้สะดวก ๒. สถานที่ “ส านักปฏิบัติธรรมร่มโพธิ์” (ด้านทิศตะวันออก องค์พระปฐมเจดีย์) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ปัจจุบัน มีพระภิกษุสงฆ์อยู่ประจ าน าปฏิบัติธรรม มีเจ้าหน้าที่ พนักงานคนงานขององค์พระปฐมเจดีย์คอยดูแลรักษา ความสะอาดทั้งบริเวณสถานที่โดยรอบ และ มีห้องน้ าจ านวน ๒๐ ห้อง มีต้นไม้ไม้ดอก ไม้ประดับ เป็นสถานที่ร่มรื่น มีก าแพงแก้วล้อมรอบ มีป้ายแสดงบอกชื่อส านัก มีถนนและทางเท้าเดินได้สะดวก ๓. สถานที่ส านักปฏิบัติธรรม คณะ ๑๗ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร (ฟื้นธรรมสถาพร) ต าบลบ้านสิงห์ อ าเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีพระภิกษุจ าพรรษา ๔. สถานที่ส านักปฏิบัติธรรม คณะ ๑๙ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ต าบลหนองกระทุ่ม อ าเภอก าแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีพระภิกษุจ าพรรษา ----------------------------------------